กรุงเทพฯ ปัจจุบัน
ถนนราชดำเนิน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ทรงได้แบบอย่างความเจริญก้าวหน้ามาปรับปรุงกรุงสยามให้เจริญทัดเทียมโลกตะวันตก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตัดถนนสายใหม่ตามแบบยุโรปเพื่อขยายเมืองไปทางทิศเหนือ ภายหลังเรียกว่า "ถนนราชดำเนิน"
สุดถนนราชดำเนินด้านทิศเหนือมีลานพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งอนันตสมาคมที่ถ่ายแบบมาจากยุโรป (ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลีนามว่า มาริโอ
ตามานโญ มีแรงบรรดาลใจมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร) บริเวณนี้เองเมื่อถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กลายเป็นที่ประชุมใหญ่ของราษฎรในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพุทธศักราช 2475 ต่อจากนั้นประเทศสยามก็ก้าวเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบยุโรป มีรัฐธรรมนูญ มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีเพลงชาติ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" เนื้อที่เดิมมีอยู่เพียงครึ่งเดียวของปัจจุบัน เห็นได้จากแนวถนนกลางทีี่ตรงกับแนวถนนระหว่างกำแพงวัดมหาธาตุ (คือถนนพระจันทร์) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นเขตวังหน้าแต่เดิม
เมื่อเลิกวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ขยายเนื้อที่ออกไปอีกครึ่งหนึ่งแล้วแต่งเป็นรูปไข่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ปลูกต้นมะขาม 2 แถวโดยรอบ เคยใช้เป็นสนามกอล์ฟ สนามแข่งว่าว สนามแข่งม้า และเป็นที่สวนสนามในสมัยหลังเคยใช้เป็นที่ติดตลาดนัด (ก่อนย้ายไปสวนจตุจักรในปัจจุบัน)
กรุงเทพฯ สมัยแรกมีขอบเขตอยู่ที่คลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู มีกำแพงเมืองป้อมปราการแข็งแรง ครั้นในรัชกาลที่ 4 ขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก ขุดคลองคูพระนครขึ้นใหม่ เมื่อเสร็จแล้วให้ชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม" ไม่ก่อกำแพงตามแนวคูเมืองที่ขุดใหม่เหมือนที่เคยทำมาแต่ก่อน แต่สร้างป้อมไว้ป้องกันข้าศึกถ้าจะมีขึ้นอีก
พื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่ตั้งแต่คลองคูพระนครเดิมคือคลองบางลำพูถึงคลองผดุงกรุงเกษมที่เป็นคูพระนครใหม่มีพื้นที่มากกว่าเท่าตัว ทำให้ขอบเขตพระนครกว้างขวางมากกว่าเดิม
พระบรมรูปทรงม้าสุดถนนราชดำเนิน |
สนามหลวง
สมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้ขยายทุ่งพระเมรุหรือสนามหลวงให้เป็นที่สาะารณะกลางกรุงตามอย่างโลกตะวันตก สนามหลวงมีมาแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ อยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง กับพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เป็นบริเวณที่โล่ง จัดให้มีขึ้นอย่างสนามหน้าจักรวรรดิพระนครศรีอยุธยา ใช้เป็นที่สร้างพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง จึงเรียกว่า "ทุ่งพระเมรุ" นอกจากนั้นทุ่งพระเมรุยังเคยใช้เป็นที่ทำนาของหลวงด้วยในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" เนื้อที่เดิมมีอยู่เพียงครึ่งเดียวของปัจจุบัน เห็นได้จากแนวถนนกลางทีี่ตรงกับแนวถนนระหว่างกำแพงวัดมหาธาตุ (คือถนนพระจันทร์) กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นเขตวังหน้าแต่เดิม
เมื่อเลิกวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ขยายเนื้อที่ออกไปอีกครึ่งหนึ่งแล้วแต่งเป็นรูปไข่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ปลูกต้นมะขาม 2 แถวโดยรอบ เคยใช้เป็นสนามกอล์ฟ สนามแข่งว่าว สนามแข่งม้า และเป็นที่สวนสนามในสมัยหลังเคยใช้เป็นที่ติดตลาดนัด (ก่อนย้ายไปสวนจตุจักรในปัจจุบัน)
|
กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน
กรุงเทพฯ สมัยแรกมีขอบเขตอยู่ที่คลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู มีกำแพงเมืองป้อมปราการแข็งแรง ครั้นในรัชกาลที่ 4 ขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก ขุดคลองคูพระนครขึ้นใหม่ เมื่อเสร็จแล้วให้ชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม" ไม่ก่อกำแพงตามแนวคูเมืองที่ขุดใหม่เหมือนที่เคยทำมาแต่ก่อน แต่สร้างป้อมไว้ป้องกันข้าศึกถ้าจะมีขึ้นอีก
พื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่ตั้งแต่คลองคูพระนครเดิมคือคลองบางลำพูถึงคลองผดุงกรุงเกษมที่เป็นคูพระนครใหม่มีพื้นที่มากกว่าเท่าตัว ทำให้ขอบเขตพระนครกว้างขวางมากกว่าเดิม
แผนที่กรุงเทพฯ ชั้นใน (เดิมก่อนที่จะขยายออกไปถึงบริเวณคลองผดุงกรุงเกษมในสมัยรัชกาลที่ 4) |
1
หอศิลป์
|
16
หอกลองกรมการรักษาดินแดน
|
31
อนุสาวรีย์ทหารอาสา
|
46
วัดเทพธิดาราม
|
2
วังหน้าและโรงละครแห่งชาติ
|
17
อาคารกรมการรักษาดินแดน
|
32
ป้อมพระสุเมรุ
|
47
วัดราชนัดดา, โลหะปราสาท
|
3
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
|
18
ราชอุทยานสราญรมย์
|
33
บ้านเจ้าพระยา
|
48
พลับพลามหาเขษฎาบดินทร์
|
4
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
19
วัดราชประดิษฐ์
|
34
บางลำพู
|
49
ป้อมมหากาฬ
|
5 ท่าพระจันทร์
|
20
สะพานปีกุน
|
35
กำแพงเก่าพระนคร
|
50
ภูเขาทองวัดสระเกศ
|
6
วัดมหาธาตุ
|
21
อนุสาวรีย์หมู
|
36
วัดบวรนิเวศ
|
51
อาคารเก่าโรงเรียน
สวนกุหลาบ
|
7
ตึกเก่าที่ท่าช้าง
|
22
วัดราชบพิธ
|
37
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
|
52
ตึกแถวเก่าถนนบ้านหม้อ
|
8
พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
|
23
กระทรวงการต่างประเทศ (เดิม)
|
38
ศาลเจ้าพ่อเสือ
|
53
ดิโอลด์สยามพลาซ่า
|
9
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
|
24
กรมแผนที่ทหาร
|
39
ซุ้มประตูวังแพร่งสรรพศาสตร์ศุภกิจ
|
54
อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1
|
10
ตึกเก่าท่าเตียน
|
25
กระทรวงมหาดไทย
|
40
ตึกแถวริมถนนตะนาว
|
55
ศาลาเฉลิมกรุง
|
11
วัดพระเชตุพนฯ
|
26
ตึกแถวเก่าริมถนนอัษฎางค์
|
41
โรงเรียนตะละภัฏศึกษา
|
56
ตึกเก่าสำนักงานเกษตร กรุงเทพฯ
|
12
บ้านจักรพงษ์
|
27
กระทรวงกลาโหม
|
42
สุขุมาลอนามัย
|
57
โบสถ์พราหมณ์
|
13
สะพานเจริญรัช
|
28
ศาลหลักเมือง
|
43
ร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์และพระพุทธรูป
|
|
14
ปากคลองตลาด
|
29
สะพานหก
|
44
เสาชิงช้า, วัดสุทัศน์
|
|
15
ตึกแถวเก่าริมถนนอัษฎางค์
|
30
พระแม่ธรณีบีบมวยผม
|
45
สวนรมนีนาถ
|
คลอง
การขุดคลองสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไม่นับการขุดคลองหรือกั้นเขื่อนกันน้ำเค็มเพื่อประโยชน์แก่การเพาะปลูกแล้ว การขุดคลองเหล่านั้นอาจทำขึ้นเพื่อการคมนาคม แต่ก็ได้ประโยชน์จากการเก็บภาษีหรือการทหาร เช่น ขุดคลองแสนแสบมุ่่งไปทางตะวันออกเพื่อส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพที่ไปทำสงครามในเขมร แต่ก็ช่วยให้เก็บภาษีได้สะดวก
นอกจากคลองแสนแสบแล้ว รัชกาลที่ 3 ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดลอกซ่อมแซมคลองพระโขนง คลองบางบอนหรือคลองบางขุนเทียน คลองสุนัขหอนด้วย ฉะนั้นการขุดหรือปฏิสังขรณ์คลองจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาลปรับปรุงให้ภาษีอากรไหลเข้าสู่เมืองหลวงได้สะดวก
รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดและซ่อมคลองอีกหลายสาย เริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษมที่ขุดให้เป็นคลองเมือง และเมื่อไม่มีศึกสงครามมาประชิด คลองนี้ก็เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ต่อจากนั้นก็ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคลองถนนตรง คลองสีลม คลองเจดีย์บูชา คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก เป็นต้น
คลองผดุงกรุงเกษมในสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) |
ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการขุดคลองเพื่อการเกษตร เช่น คลองรังสิต นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคลองสาธรกับคลองราชดำริ ไปพร้อม ๆ กับการสร้างถนนเลียบสองฝั่งคลองเพื่อการคมนาคมและการค้าเป็นสำคัญ
ถนนเจริญกรุงเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางทิศใต้ แสดงว่ากรุงเทพฯ สมัยแรกขยายพื้นที่ลงไปทางทิศใต้ตามลำน้ำเจ้าพระยาก่อน เพราะเป็นย่านจอดเรือสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อการค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้นก็ตัดถนนบำรุงเมืองกับถนนเฟื่อนครเพิ่มขึ้น
ถึงรัชกาลที่ 5 มีการสร้างถนนและสะพานข้ามคลองจำนวนมาก เท่ากับเริ่มปรับเปลี่ยนการคมนาคมจากคลองเป็นถนน แล้วจะส่งผลให้เกิดถนนขึ้นมากมายจนทุกวันนี้ ยานพาหนะยุคใหม่สำหรับผู้คนในพระนครที่เกิดขึ้นพร้อมกับถนนก็คือ รถลาก รถม้า รถจักรยาน รถยนต์ รถเมล์ รถราง รถสามล้อ
ในรัชกาลนี้เริ่มสร้างทางรถไฟ ทำให้ทรัพยากรจากท้องถิ่นไหลเข้าพระนครและวัฒนธรรมใหม่จากกรุงเทพฯ กระจายสู่ท้องถิ่นได้สะดวก ต่อมาก็เริ่มมีเครื่องบิน บริษัทผลิตเครื่องบินจากฝรั่งมาเปิดแสดงการบินในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม พุทธศักราช 2453 กระทรวงกลาโหมสั่งเครื่องบินชุดแรกจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อพุทธศักราช 2454 สร้างโรงเก็บชั่วคราวขึ้นที่สนามม้าสระปทุมแล้วใช้พื้นที่บริเวณนั้นเป็นสนามบินแห่งแรก ก่อนจะเกิดสนามบินดอนเมือง
การค้าต่างประเทศที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมา แต่มีผลให้ชนชั้นสูงเปลี่ยนแปลงลักษณะตนเองไปเป็นกระฎุมพีมากขึ้น มีฐานอำนาจสำคัญผูกพันอยู่กับการค้า
มีโลกทัศน์ ค่านิยม และรสนิยมคล้ายคลึงกับกระฎุมพีในที่อื่นและสมัยอื่นหลายอย่าง แต่การกวาดต้อนผู้คนเข้ามาทดแทนพวกที่ถูกพม่ากวาดต้อนไป ทำให้มีชนหลายกลุ่มเข้ามาเป็นประชากร เช่น พวกแขกเมืองปัตตานี พวกทวาย พวกเขมร พวกญวน และมักตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนเบาบางกว่าฝั่งตะวันตก เช่น
พวกทวาย ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลคอกควายใกล่้วัดยานนาวา ต่อมาเรียกบ้านทวาย
พวกเขมร ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวบางกระบือกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งให้ไปอยู่เหนือวัดราชาธิวาส
พวกญวน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำใต้ตลาดน้อยกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งให้ไปอยู่บางโพ
พวกแขกตานี ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแขกริมคลองมหานาค
ผู้คนกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือพวกแขกครัว ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านครัว ริมคลองมหานาค เป็นกลุ่มชนรุ่นแรก ๆ ที่มีส่วนก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ ให้มีชีวิตและวิญญาณมั่งคั่งและมั่นคง
นอกจากนั้นยังมีพวกจีน พวกมอญ และพวกลาว ทยอยเข้ามาตั้งบ้านเรือนเป็นระยะ ๆ จนมีจำนวนมากกว่าพวกอื่น ๆ
กลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์กลายเป็นประชากรชาวสยามอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นแรงงานสร้างวัง วัด ขุดคลอง และทำงานอื่น ๆ อีกมาก
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช 2475 รัฐบาลสมัยหนึ่งให้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม) ซึ่งเป็นชื่อที่เกิดขึ้นจากสำนึกชาตินิยม ผูกพันกับความเชื่อเรื่องชนชาติ โดยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้เหตุผลตอนแถลงต่อรัฐสภาว่า
ถนน
ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 มีการสร้างถนนสายเล็ก ๆ รอบพระบรมมหาราชวัง สำหรับกระบวนแห่ในพระราชพิธีแล้วจึงสร้างถนนเชื่อมไปสู่สถานที่ที่กระบวนแห่จะต้องผ่าน เช่น วัดพระเชตุพนฯ โบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในพระนครเรียกร้องถนนเพื่อเล่นกีฬา ขี่ม้า และนั่งรถม้าตากอากาศ จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรกถนนเจริญกรุงถนนสายแรกของไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 |
ถึงรัชกาลที่ 5 มีการสร้างถนนและสะพานข้ามคลองจำนวนมาก เท่ากับเริ่มปรับเปลี่ยนการคมนาคมจากคลองเป็นถนน แล้วจะส่งผลให้เกิดถนนขึ้นมากมายจนทุกวันนี้ ยานพาหนะยุคใหม่สำหรับผู้คนในพระนครที่เกิดขึ้นพร้อมกับถนนก็คือ รถลาก รถม้า รถจักรยาน รถยนต์ รถเมล์ รถราง รถสามล้อ
เมื่อมีถนนก็เริ่มมียานพาหนะต่าง ๆ มากมาย |
สนามบินสระปทุม สนามบินแห่งแรกของไทย |
ตึกแถว
เมื่อสร้างถนนอย่างดีขึ้นหลายสายในพระนคร แล้วมีพ่อค้าจีน แขก ฝรั่ง เรียกร้องให้สร้างอาคารหรือตึกแถวสองข้างถนน เพื่อพวกตนจะได้ขอเช่าตั้งร้านค้าขายเหมือนประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ทางราชการเห็นสมควรก็ปลูกสร้างอาคารตึกแถวสองชั้นขึ้นตามริมถนนสายสำคัญ ๆ เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนเจริญกรุงตอนใน เป็นต้น
มีโลกทัศน์ ค่านิยม และรสนิยมคล้ายคลึงกับกระฎุมพีในที่อื่นและสมัยอื่นหลายอย่าง แต่การกวาดต้อนผู้คนเข้ามาทดแทนพวกที่ถูกพม่ากวาดต้อนไป ทำให้มีชนหลายกลุ่มเข้ามาเป็นประชากร เช่น พวกแขกเมืองปัตตานี พวกทวาย พวกเขมร พวกญวน และมักตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนเบาบางกว่าฝั่งตะวันตก เช่น
พวกทวาย ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลคอกควายใกล่้วัดยานนาวา ต่อมาเรียกบ้านทวาย
พวกเขมร ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวบางกระบือกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งให้ไปอยู่เหนือวัดราชาธิวาส
พวกญวน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำใต้ตลาดน้อยกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งให้ไปอยู่บางโพ
พวกแขกตานี ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านแขกริมคลองมหานาค
ผู้คนกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือพวกแขกครัว ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านครัว ริมคลองมหานาค เป็นกลุ่มชนรุ่นแรก ๆ ที่มีส่วนก่อร่างสร้างกรุงเทพฯ ให้มีชีวิตและวิญญาณมั่งคั่งและมั่นคง
นอกจากนั้นยังมีพวกจีน พวกมอญ และพวกลาว ทยอยเข้ามาตั้งบ้านเรือนเป็นระยะ ๆ จนมีจำนวนมากกว่าพวกอื่น ๆ
กลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์กลายเป็นประชากรชาวสยามอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นแรงงานสร้างวัง วัด ขุดคลอง และทำงานอื่น ๆ อีกมาก
ชุมชนแขกตานีริมคลองมหานาค |
เปลี่ยนจากสยามเป็นไทย
ชาวต่างชาติเรียกกรุงศรีอยุธยาว่าราชอาณาจักรสยามหรือเมืองไทย เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์เรียกชื่อประเทศว่า กรุงสยาม และ ประเทศสยาม สมัยแรกมีธงช้างเป็นสัญลักษณ์ ถึงแผ่นดินพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์ที่ได้แบบอย่างมาจากยุโรป (เนเธอร์แลนด์กับฝรั่งเศส)หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช 2475 รัฐบาลสมัยหนึ่งให้เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม) ซึ่งเป็นชื่อที่เกิดขึ้นจากสำนึกชาตินิยม ผูกพันกับความเชื่อเรื่องชนชาติ โดยจอมพล ป. พิบูลสงครามให้เหตุผลตอนแถลงต่อรัฐสภาว่า
“...การที่เราใช้คำว่า
ประเทศสยามนั้น นอกจากจะไม่ตรงกับเชื้อชาติของเราแล้ว
ในต่อไปภายหน้าคนชาวต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศของเรา
ก็อาจที่จะถือเอาสิทธิประเทศของเราเป็นประเทศของเขาก็ได้ คือเราเป็นชาวไทย
เราก็อยู่ในประเทศสยาม ชาวจีนก็อยู่ในสยาม ถ้าหากว่าการที่อพยพของชาวต่างประเทศมากขึ้นในต่อไปข้างหน้าตั้งพันปี
เราก็อาจจะไม่เข้าใจว่าประเทศสยามนี้เป็นของไทยหรือของจีน หรือของคนอื่น.”
จากบทความเรื่อง....กรุงรัตนโกสินทร์
ทองมกุฎสุดใจดินใจฟ้า นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม 2541